ประวัติความเป็นมา

โลโก้ของ สถานสัตว์ทดลองเพื่อการวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร มีองค์ประกอบและความหมายดังนี้:

  1. สัญลักษณ์ช้างศึก
    • ช้างศึกในโลโก้เป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยนเรศวร สื่อถึงความเข้มแข็ง ความทรงพลัง และความเป็นปึกแผ่นของหน่วยงานในการทำงานวิจัย
  2. สัตว์ทดลอง 4 ชนิด
    • ภาพสัตว์ทดลอง ได้แก่ หนู กระต่าย และสัตว์ฟันแทะอื่น ๆ สะท้อนภารกิจหลักของสถานสัตว์ทดลองในการดูแลและจัดเตรียมสัตว์ทดลองที่ใช้ในงานวิจัย
    • แสดงถึงความหลากหลายของสัตว์ทดลองที่หน่วยงานดูแล โดยให้ความสำคัญกับมาตรฐานและจริยธรรมในการใช้งาน
  3. วงกลมล้อมรอบโลโก้
    • วงกลมรอบนอกแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียว ความครอบคลุม และความสมบูรณ์ของการดำเนินงานภายในหน่วยงาน
    • ข้อความภาษาอังกฤษ “Center For Animal Research Naresuan University” และภาษาไทย “สถานสัตว์ทดลองเพื่อการวิจัย” ตอกย้ำบทบาทในการสนับสนุนงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ
  4. ลวดลายใบไม้ด้านล่าง
    • ใบไม้สองข้างล้อมรอบฐานโลโก้ แสดงถึงความเจริญเติบโต ความสมดุล และความยั่งยืนของการทำงานวิจัยร่วมกับการดูแลสวัสดิภาพสัตว์

ภาพรวมความหมาย
โลโก้นี้สะท้อนถึงบทบาทสำคัญของ สถานสัตว์ทดลองเพื่อการวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการสนับสนุนงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ โดยให้ความสำคัญกับการจัดการสัตว์ทดลองอย่างมีมาตรฐาน จริยธรรม และความยั่งยืน พร้อมทั้งแสดงถึงความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัย.

จากการที่คณะต่างๆในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยนเรศวร มีความจำเป็นต้องใช้สัตว์ทดลองทั้งเพื่อการเรียนการสอนและการวิจัย จึงได้มีโครงการจัดตั้งศูนย์สัตว์ทดลองของมหาวิทยาลัยเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่บุคลากรและนิสิต โดยในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการกำกับดูแลและรับผิดชอบจัดการเรื่องของการใช้สัตว์ มหาวิทยาลัยนเรศวรขึ้นเป็นชุดแรก เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการใช้สัตว์ทดลองของมหาวิทยาลัย รวมถึงวางนโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลและรับผิดชอบเรื่องการใช้สัตว์ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ในส่วนของอาคารเลี้ยงสัตว์ทดลองนั้น เริ่มต้นจากปี พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดสร้างอาคารสัตว์ทดลองมหาวิทยาลัยนเรศวรขึ้น ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ประชุมระดมสมองถึงแนวทางและการก่อสร้างอาคารสัตว์ทดลองของมหาวิทยาลัย อีกทั้งได้มีการเยี่ยมชมหน่วยงานที่มีการใช้สัตว์ทดลอง และมีสถานที่ที่เลี้ยงสัตว์ที่ได้มาตรฐานสากล ได้แก่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (Armed Forces Research Institute of Medical Sciences, AFRIMS) กรุงเทพฯ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี และศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการก่อสร้างอาคารเลี้ยงสัตว์ทดลอง โดยการก่อสร้างได้เริ่มดำเนินการในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และก่อสร้างเสร็จในกลางปี พ.ศ. 2553 จากนั้นได้จัดตั้งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักงานอธิการบดีในวันที่ 13 กรกฏาคม พ.ศ. 2554 ในชื่อ สถานสัตว์ทดลองเพื่อการวิจัย (Center for Animal Research)

ปี พ.ศ. 2554 สถานสัตว์ทดลองเพื่อการวิจัย เปิดให้บริการแก่นักวิจัยและบุคลากรของ มหาวิทยาลัย

ปี พ.ศ. 2558 ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลด้านการเลี้ยงและใช้สัตว์จาก
AAALAC International เป็นต้นมา
สถานสัตว์ทดลองเพื่อการวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัยที่รองรับการดำเนินงานด้านสัตว์ทดลองของมหาวิทยาลัย ที่ได้รับการรับรองจากองค์กรการรับรองมาตรฐานสากล (The Association for Assessment and Accreditation of Laboratory Animal Care (AAALAC) International) ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งจัดเป็นหน่วยงานอันดับที่ 5 ของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลนี้

 

ปี พ.ศ. 2561 คณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ได้รับการรับรอง มาตรฐานการปฏิบัตงานตาม Thai IACUC Standard จากสถาบันพัฒนาการดำเนินงานต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ปี พ.ศ.2563 ได้รับการรับรองห้องปฏิบัติการ GLP facility จาก National OECD GLP Compliance Monitoring Authority และในปี พ.ศ.2564 ขยายขอบข่ายการบริการรับทดสอบ Pharmaceutical Product สำหรับGLP facility

อาคารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและทดสอบด้านความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง (Center for Research and Safety Testing in Laboratory Animals)

เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 แล้วเปิดใช้งานชั้น 2 ในปี พ.ศ. 2563